Blogger นี้ใช้ในการเรียนในรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เคล็ดลับ สุขภาพดี


เคล็ดลับ สุขภาพดี ด้วย 18 วิธี ง่ายๆ


สุขภาพดีอาจจะหาซื้อไม่ได้แต่เป็นเจ้าของได้แน่นอน ถ้าสาวๆ ทำตามเคล็ดลับเหล่านี้

   1. แอปเปิ้ล แตงโม กล้วย กีวีต้องระวังผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้มีประโยชน์มาก แต่ถ้าคุณกำลังทานยาปฏิชีวนะอยู่ ผลไม้พวกนี้จะกลายเป็นโทษทันทีเพราะมันบูดในลำไส้ได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้

   2. ผลไม้กับมื้ออาหารก่อนทานอาหารควรจะเรยีกน้ำย่อยด้วยสับปะรดและมะละกอสัก 2-3 ชิ้น ผลไม้สองชนิดนี้มีเอนไซม์ที่จะช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่กำลังจะตามลงมาได้ง่ายขึ้น และหลังจากจบมื้ออร่อยแล้วควรตบท้ายด้วยแอปเปิ้ลสัก 1 ชิ้นเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายซึ่งจะทำให้จำนวนแบคทีเรียในช่องปากลดลง และช่วยให้เหงือกแข็งแรงด้วย

   3. อย่าปล่อยให้หิว
ควรจะทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวันแม้จะยังไม่รู้สึกหิวก็ตาม เพราะเวลาที่เราหิวร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนควมเครียดออกมา ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำก็จะทำให้คุณกลายเป็นสาวเครียด และนำไปสู่อาการความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน

   4. เนื้อสัตว์กับผลไม้ไม่เข้ากัน
ถ้าทานน้อยๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามื้อไหนคุณทานเนื้อเป็นจำนวนมากแล้วควรจะงดผลไม้ไป เพราะกว่าเนื้อจะย่อยหมดต้องใช้เวลานาน ส่าวนผลไม้ซึ่งย่อยเร็วจะถูกกักอยู่ในกระเพาะ จึงทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้

   5. นาฬิกาชีวภาพหลักการสุขภาพดีบอกไว้ว่าเราควรจะเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน แต่ส่วนใหญ่พอถึงคืนวันศุกร์กับวันเสาร์เรามักจะนอนดึกเพราะถือว่าเป็นวันหยุด การทำอย่างนี้จะทำให้ความเคยชินหรือที่เรียกว่าชีวภาพของร่างกายรวรเร จึงไม่ต้องแปลกใจเลยที่วันจันทร์เราจะง่วงนอนกว่าปกติ

   6. ความเครียดทำลายผิว 
ถ้าอยากผิวสวย แก่ช้า ดูอ่อนกว่าวัย สิ่งแรกที่ต้องปรับคือความคิดของตัวเราเอง พยายามคิดในทางบวก มองโลกในแง่ดี หลีกเลี่ยงความคิดที่ทำให้ตึงเครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกทำลายตัวเราเอง

   7. หลีกเลี่ยงภาชนะพลาสติก
เพราะความร้อนรวมทั้งรสชาติเผ็ดเปรี้ยว เค็มจากอาหารสามารถเข้าไปกัดเซาะสารสังเคราะห์ในพลาสติกให้ละลายออกปะปนกับอาหารได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารเข้าอุ่นในเตาไมโครเวฟยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะเป็นการเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเป็นอย่างมาก

   8. อย่าประมาทอาการไอเรื้อรังหลังจากหายหวัดแล้วอาการไออาจจะยังไม่หายไป แต่สาวหลายคนมักจะไม่สนใจเพราะคิดว่าอาการไอเป็นเรื่องชิลๆ แต่ที่จริงอาการไอเรื้อรังร้ายแรงกว่าที่คุณคิด เพราะมันอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะ ที่หมอให้มารักษาอาการหวัดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ วิธีหยุดอาการไอที่ได้ผลที่สุดคือการดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อลดเสมหะในทางเดินหายใจ และนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้เต็มที่

   9. เท้าและข้อเท้าบวม
ถ้ามีอาการแบบนี้อย่าปล่อยไว้ เพราะฝ่าเท้าเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย ถ้าบริเวณเท้ามีปัญหาก็จะส่งผลถึงร่างกายทุกส่วน วิธีแก้ไขคือให้นั่งยองๆ ทุกวันๆ ละ 15 นาทีจากนั้นก็ขยับข้อเท้าไปข้างหน้าและข้างหลังเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น หลังจากนั้นใช้แปรงขนนุ่มๆ แปรงผิวหนังเบาๆ โดยเริ่มจากฝ่าเท้าแล้วค่อยๆ ปัดไล่ขึ้นมาที่ข้อเท้า น่อง ต้นขา ท้อง แขนไปจนสุดที่มือทั้งสองข้าง (ยกเว้นผู้ที่เป็นเบาหวานเพราะเสี่ยงจะเกิดบาดแผล) ตบท้ายด้วยการอาบน้ำอุ่นแล้วตามด้วยน้ำเย็น จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

   10. งดเครื่องดื่มคาเฟอีน
เครื่องดื่มพวกนี้ไม่ว่าจะเป็นชาหรือกาแฟ ปกติก็ไม่ควรดื่มอยู่แล้ว แต่ถ้าบังเอิญคุณเป็นโรคปวดหลัง เครื่องดื่มพวกนี้จะเป็นศัตรูของคุณไปทันที เพราะคาเฟอีนจะไปลดการหลั่งสารเอนโดรฟินซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ อาการปวดของคุณก็จะไม่หายหรืออาจจะเป็นมากขึ้นด้วย

   11. ดื่มน้ำเร็ว...อันตราย
ใครๆ ก็บอกว่าควรจะดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้ว แต่ต้องค่อยๆ ดื่มไปตลอดวัน ไม่ใช่ทั้งวันไม่ดื่มเลย แล้วมารวบยอดเอาในครั้งเดียว เพราะการดื่มน้ำปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวอาจทำให้เกิดอาการน้ำเป็นพิษเนื่องจากเลือดเจือจาง และอาจทำให้เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็งตามมา ยิ่งถ้าอาการเกร็งไปเกิดที่สมอง หัวใจ หรือปอด ก็อาจจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

   12. แดดอ่อนตอนเช้า
แสงแดดยามเช้าจัดว่าเป็นยาตามธรรมชาติที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ นอกจากทำให้กระดูกแข็งแรงแล้วยังทำให้อารมณ์ดี เพราะแดดอ่อนๆ มีวิตามินที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข ออกมาต่อต้านอาการซึมเศร้าในตัวเรา คนที่เดินเล่นรับแดดอ่อนจึงมีหน้าตาเบิกบานกว่าคนที่มัวแต่หลบแดดอยู่ในบ้านมาก

   13. เบาหวานอย่าทานไข่
ถ้าสมาชิกในครอบครัวคุณคนไหนเป็นเบาหวาน ควรให้เขางดไข่ไปเลย เพราะมีรายงานทางการแพทย์ว่าถ้าคนที่เป็นเบาหวานทานไข่อาทิตย์ละ 1 ฟอง จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

   14. อยากผอมต้องน้ำเย็นการดื่มน้ำเย็น 50 ออนซ์ จะช่วยเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 50 แคลอรี ช่วยให้น้ำหนักลดลงปีละ 2.5 กิโลกรัม เพราะเมื่อเราดื่มน้ำเย็นร่างกายต้องใช้พลังงานในการทำให้น้ำนั้นเปลี่ยนอุณหภูมิเป็นอุณหภูมิปกติก่อน แล้วจึงนำไปใช้ได้ จึงเป็นการใช้พลังงานมากกว่าเดิม

   15. สุขภาพดีทันทีที่ตื่น
ถ้าอยากดูแลสุขภาพพร้อมกับการเริ่มต้นวันใหม่ ทันทีที่ตื่นนอนสาวๆ ควรผสมน้ำส้มสายชู (ที่หมักจากผลแอปเปิ้ล) กับน้ำผึ้งในสัดส่วนเท่ากัน ใส่น้ำอุ่นนิดหน่อย คนให้เข้ากันแล้วนำมาดื่ม จะช่วยให้การดูดซึมของระบบลำไส้และการเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ดีตลอดวัน

   16. ผู้ชายอย่าพลาดมะเขือเทศ
สำหรับหนุ่มซ่าที่กำลังเริ่มมีอาการเตะปี๊ปไม่ดังหรือกลัวว่าจะเป็นหมัน มะเขือเทศคือผลไม้ที่คุณจะพลาดไม่ได้ เพราะมะเขือเทศสุกมีสารโคปีนสูงมาก ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานได้ดี ประสิทธิ์ภาพและสมรรถภาพต่างๆ จึงทำงานได้เป็นปกติ ถ้าผู้ชายทานมะเขือเทศอย่างน้อยอาทิตย์ละ 10 ผลหรือมากกว่านั้น ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะน้อยลง 45 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญควรจะทานแบบสุกๆ เช่น ทานเป็นน้ำพริกอ่อง สปาเก็ตตี้ เพราะเวลามะเขือเทศถูกความร้อนมันจะปล่อยสารไลโคปีนออกมามากขึ้น

   17. ป้องกันกรดในกระเพาะอาหาร
สำหรับที่ท้องอืดบ่อย ควรลดปริมาณการดื่มน้ำผลไม้เข้มข้นอย่างเช่น มะนาว ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุต หรือน้ำมะเขือเทศสดนั่น เพราะน้ำพวกนี้มีกรดมากทำให้ท้องอืด หรือถ้าเสพติดไปแล้วอดไม่ได้จริงๆ ก็อาจจะทำให้เจือจางลงด้วยการผสมน้ำมากๆ 

   18. หลบอัลไซเมอร์ด้วยเกม
ถ้าไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์หรือเป็นโรคขี้หลงขี้ลืม สาวๆ ควรจะฝึกสมองด้วยการเล่นเกมที่ต้องใช้สมาธิ เช่น ปริศนาอักษรไขว้ เกมในคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิอย่างเรียนดนตรี เล่นหมากรุก เป็นต้น เพราะเกมเหล่านี้จะช่วยให้ระบบประสาททำงานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติของฟอร์ย



ฟรอยด์ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก จึงทำให้เขาฉลาดและสอบได้ที่ 1 ทุกครั้ง เมื่ออายุได้ 17 ปี เขาสอบเข้าศึกษาต่อวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนาได้ หลังจากเรียนจบเขาได้ค้นคว้าต่อทางด้านเซลล์สมอง และได้ไปศึกษาเกี่ยวกับโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับชาร์โก ซึ่งเป็นหมอรักษาคนไข้ที่เป็นอัมพาตอยู่นั่น ฟรอยด์ได้พบว่าคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ทางร่างกาย เมื่อกลับมายังกรุงเวียนนา เขาตัดสินใจทำงานเป็นแพทย์ทางด้านสมองและประสาท และแต่งงานกับมาร์ธา เบิร์นเนย์ จนมีลูกด้วยกันถึง6 คน 
ฟรอยด์ได้พบคนไข้ที่เป็นอัมพาตเนื่องจากปัญหาทางจิตใจหลายราย เขาจึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ คือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้น เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฎว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากการอัมพาตเมื่อรักษาด้วยวิธีนี้ 
ในตอนแรก มีผู้คัดค้านไม่ยอมรับ แต่ฟรอยด์ก็ได้ศึกษาและทดลอง จนผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับทั่วไปในปี 1930                อนึ่ง ฟรอยด์เป็นทั้งแพทย์และนักจิตวิทยา เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาทางด้านจิตวิทยา ทฤษฎีต่างๆ ของเขาที่ค้นพบยังคงนำมาใช้รักษาโรคทางจิตอยู่ทุกวันนี้ เช่น ทฤษฎีบุคลิกภาพแบบจิตวิเคราะห์ ซึ่งกล่าวว่า พลังจิตใต้สำนึกมีผลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคล และจำแนกบุคคลให้แตกต่างกัน 
ทฤษฎี
                ใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาตซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์                                            
                               
 ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)  แบ่งจิตออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1.        จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง           
2.         จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ รองศาสตราจารย์ กลมรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 : 35)ได้กล่าวถึงSubconscious mind  ว่าหมายถึงส่วนของจิตใจ ที่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรม ในขณะนั้น แต่ เป็นส่วนที่รู้ตัว สามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เช่น นางสาว ก. มีน้องสาวคือนางสาว ข. ซึ่งกำลังตกหลุมรัก นาย ค. แต่นางสาว ข. เกรงว่ามารดาจะทราบความจริงจึงบอกพี่สาว มิให้เล่าให้มารดาฟัง นางสาว ก. เก็บเรื่องนี้ไว้เป็น ความลับ มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบโดยเฉพาะมารดาแต่ ในขณะเดียวกันก็ทราบอยู่ตลอดเวลาว่า นางสาว ข. รักนาย ค. ถ้าเขาต้องการเปิดเผย เขาก็จะบอกได้ทันที       ลักขณา สิริวัฒน์ (2530 : 9) กล่าวถึง Subconscious mind ว่าผลมันเกิด จากการขัดแย้งกันระหว่าง พฤติกรรมภายใต้อิทธิพลจิตรู้สำนึกกับอิทธิพลของ จิตใต้สำนึกย่อมก่อให้เกิดการหลอกลวงตัวเองขึ้น ภายในบุคคล           
3.        จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 121) กล่าวว่า จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกด (Repression) เอาไว้อาจเป็นเพราะ ถูกบังคับ หรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้นในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไป จนเจ้าตัวลืมไปชั่ว ขณะจะแสดงออกมาในลักษณะการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อ คนรักเก่าต่อหน้า คนรักใหม่ เป็นต้น      คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2530 : 16) กล่าวว่าสิ่งที่มีอิทธิพล จูงใจพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุดก็คือ ส่วนที่เป็นจิตใต้สำนึกและสิ่งที่คนเรามัก จะเก็บกดลงไปที่จิตใต้ สำนึก ก็คือความต้องการก้าวร้าว กับความต้องการทางเพศ ซึ่งจะมีแรงผลักดัน
         นอกจากนี้ ฟรอยด์ ยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างทางจิตพบว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย              
1. อิด (Id)
2. อีโก้ (Ego)
3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) 

      1.
 อิด (Id)    มายถึงตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ซึ่งทำให้ มนุษย์ทำทุก อย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทำตามหลักของความพอใจ (Pleasure principle)เปรียบเหมือนสันดานดิบของ มนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น สัญชาติญาณ แห่งการมีชีวิต (Life instinct) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย กับสัญชาติญาณแห่ง ความตาย (Death instinct) เช่น ความก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น บุคคล จะแสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ของเขาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคม และ ความพอใจของ บุคคลอื่นจึงมักเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของมาตรฐานในสังคม บุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้ มักได้รับการประณามว่ามีบุคลิกภาพไม่ดี หรือไม่เหมาะสม
 2. อีโก้ (Ego) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยกฎเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกตามความ พอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุผลด้วยนั่นคือบุคคลจะแสดงพฤติกรรม โดยมีเหตุและผล ที่เหมาะสมกับกาลเทศะใน สังคม จึงเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการยอมรับมากในสังคม ในคนปรกติที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ฟรอยด์ เชื่อว่าเป็นเพราะมีโครงสร้าง ส่วนนี้แข็งแรง            
  3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจาก
ประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ใน สังคมนั้น Superego จะเป็นตัวบังคับ และควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม โดยยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value principle) ที่ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคมกล่าวคือบุคคล จะแสดงพฤติกรรมตาม ขอบเขตที่สังคมวางไว้ แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะ สม เช่น เมื่อถูกยุงกัดเต็มแขน - ขา ก็ไม่ยอมตบยุง เพราะกลัวบาป หรือสงสารคนขอทานให้เงินเขาไปจนหมด ในขณะที่ ตนเองหิวข้าวไม่มีเงินจะ ซื้ออาหารกินก็ยอมทนหิว เป็นต้น

Human Penetrator การมองทะลุแก่นแท้ของมนุษย์



ขงจื๊อเป็นนักคิดคนสำคัญยิ่งของโลก เป็นทั้งนักการศึกษา นักรัฐศาสตร์ นักปรัชญา และที่สำคัญคือเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพล ทางความคิด มากที่สุด ในแผ่นดินจีน คำสั่งสอนของขงจื๊อเป็นรากฐานทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมของทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีมาจนถึงปัจจุบัน
แนวคิดของขงจื๊อไม่เพียงแต่เน้นให้คนมีคุณธรรม แต่ยังเป็นแนวทางนำไปสู่ความมีอัจฉริยะภาพ คือทำให้รู้ว่าในเวลาหนึ่ง คนเราควร จะคิดอะไร วางตัวอย่างไร คบเพื่อนแบบไหน เพื่อทำให้เราใช้ศักยภาพและเวลาที่มีจำกัด ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง มากที่สุดแก่น คำสอนของขงจื๊อสรุปได้เป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1. บุคลิกภาพของมนุษย์ที่แท้
มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบของขงจื๊อ คือคนมีบุคลิกโดดเด่นเหนือคนทั่วไป มีพลังดึงดูด โน้มน้าวใจคน และมีคุณธรรมเที่ยงตรง ทำให้มีอำนาจเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป คุณลักษณะ 7 ประการที่จะช่วยให้มนุษย์มีพลังอำนาจตามวิธีคิดของขงจื๊อ คือ
  • นอบน้อม เพราะคนนอบน้อมจะไปทำอะไร ที่ไหน ย่อมไม่เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป
  • เมตตากรุณา เพราะคนมีเมตตากรุณา มักจะมี positive aura บนใบหน้าที่ทำให้สามารถเอาชนะใจคนได้โดยง่าย
  • จริงใจ เพราะจะส่งผลให้มีบุคลิกซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของผู้อยู่เหนือกว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลทั่วไป
  • จริงจัง เพราะย่อมทำทุกสิ่งทุกอย่างลุล่วงลงได้
  • ใจคอกว้างขวาง เพราะย่อมใช้ให้คนทำงานแทนได้ และสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้
  • ไม่กินอิ่มเกินไป ไม่แสวงหาความสะดวกสบายจนเกินไป เพราะจะทำให้กลายเป็นคนเกียจคร้าน ไม่แสวงหาหนทางปรับปรุงชีวิต พัฒนาตนเองในขณะที่ยังมีกำลังวังชา และสติปัญญาสมบูรณ์
  • มีอารมณ์มั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ถ้ากล่าวแบบคนสมัยใหม่ ก็คือการมี EQ สูง
2. วิธีคิดของผู้มีปัญญา
คนเราเกิดมา มีปัญญาสูงต่ำไม่เท่ากัน มีโอกาสในการศึกษาไม่เท่ากัน แต่ขงจื๊อเห็นว่าในชีวิตประจำวันคนเราสามารถค่อย ๆ สร้างสม พัฒนาสติปัญญาให้ได้ด้วยตนเอง โดยการเปลี่ยนปรับวิธีคิดเสียใหม่ เลิกคิดปรุงแต่ง และคิดถึงเรื่องไร้สาระ และหันมาพิจารณาเฉพาะเรื่อง ที่เป็นประโยชน์แทน ดังนี้
  • มนุษย์ที่แท้ จะต้องพิจารณาอยู่เสมอว่า ทำอย่างไร เราจึงจะมองอะไรแล้วสามารถจะเห็นและเข้าใจสิ่งนั้นทะลุปรุโปร่ง และเมื่อได้ยินอะไรแล้ว ทำอย่างไรเราจึงจะฟังให้เข้าใจได้หมดซึ่งก็คือ การใช้สมาธิตั้งใจดู ตั้งใจฟัง นั่นเอง ปัญหาของจำนวนมาก คือ ดู เห็น ฟัง แล้วเข้าใจไม่หมด ตีความผิด ตีความเข้าตนเอง เอาตนเองเป็นที่ตั้งอยู่ตลอด ถ้าแก้ไขจุดนี้ได้ เราก็จะมีฐานข้อมูล ที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งต้องใช้ประกอบการคิด การตัดสินใจต่อไป
  • อย่าคิดกังวลว่า ใครจะยอมรับยกย่องเราหรือไม่ แต่ให้เป็นกังวลมาก ๆ ว่า ขณะนี้เรายังขาดคุณสมบัติข้อใด ที่ทำให้ยังไม่เป็นที่ยกย่อง ของผู้คน และอย่าเป็นกังวลว่า คนอื่นจะไม่รู้จักนิสัยใจคอของเรา แต่ให้กังวลว่า ตัวเราจะไม่รู้จักนิสัยใจคอของคนอื่นดีกว่าจุดนี้คือ ขงจื๊อต้องการให้คนเราเน้น การพิจารณา เข้าใจ และปรับปรุงตนเอง ในขณะที่แนวโน้มของคนโดยทั่วไปจะชอบ "ส่องนอก ไม่ส่องใน" และใช้เวลาไปกับการจับผิด วิพากษ์วิจารณ์คนอื่นเสียมาก
  • เวลาเห็นช่องทางได้ผลประโยชน์ ต้องคิดถึง ความยุติธรรม ด้วยขงจื๊อเห็นว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มจะคิดแบบเห็นแก่ได้ และตัดสินใจ ผิดพลาด เมื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อจะไม่ทำผิดคุณธรรม คนเราต้องพิจารณาเรื่อง ความยุติธรรมอยู่เสมอ ๆ ความยุติธรรมที่ให้พิจารณาก็คือ หลักการง่าย ๆ ถ้าเราไม่ชอบอะไร รังเกียจอะไร ก็จงอย่าทำกับคนอื่นแบบนั้น คิดได้แค่นี้
  • นอกจากนี้ ขงจื๊อยังให้ข้อเตือนใจไว้ว่า เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องหัดคิดคิดการณ์ไกล เพื่อจะได้ไม่ต้องหลงทางนอกจากนี้ เวลาร่ำเรียนศึกษา ก็ต้องหัดคิดตาม เพราะคนที่ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ โดยไม่คิด ย่อมไม่ฉลาดมากนัก ในทางตรงกันข้าม คนที่เอาแต่คิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ โดยไม่ชอบศึกษาหาข้อมูล ก็จะเป็นเพียงการคาดเดาหรือ speculation ย่อมจะคิดผิดพลาดได้ง่าย ๆ ดังนั้น คนเราต้องหัดฝึกฝน การคิดและการศึกษาหาข้อมูลไปพร้อม ๆ กัน
3. ระเบียบวินัย
ขงจื๊อกล่าวถึงระเบียบวินัย 3 ประการ ของคนวัยต่าง ๆ กัน
  • วัยหนุ่มสาว พลังยังไม่มั่นคง ต้องมีวินัยเรื่องกามคุณ
  • วัยกลางคน พลังกายใจเข้มแข็งมากที่สุด ต้องมีวินัยเรื่องความพึงพอใจ อย่างเพิ่งเฉยชาหรือพอใจกับอะไรง่าย ๆ
  • วัยชรา หมดเรี่ยวแรง พลังงานลดถอย ต้องมีวินัยกับความโลภ คืออย่ามีความต้องการมากมายไม่มีที่สิ้นสุด
4. การคบคน
ขงจื๊อเชื่อว่า ชีวิตคนเรา จะสุข ทุกข์ ประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนที่เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องคบหาด้วย ดังนั้น ขงจื๊อจึงมีกฎในการเลือกคบคน ดังนี้
  • ข้อแรก ไม่คบหาคนที่มีคุณงามความดีไม่เท่าเรา
  • ข้อสอง ไม่แสวงความเห็น หรือปรึกษาหารือคนที่มีเส้นทางชีวิตไม่เหมือนเรา
  • ข้อสาม คนที่ควรคบหา คือ คนที่มีความซื่อตรง จริงใจ และมีความรู้
  • ข้อสี่ พึงเลี่ยงคบหาบุคคลที่เสแสร้ง พูดจาไร้สาระ ฉวยโอกาส ฟุ้งเฟ้อ
  • ข้อห้า เมื่อคบหาใครเป็นเพื่อนแล้ว จงมีความจริงใจต่อกัน แต่อย่าปล่อยให้เขาชักนำเราไปในทางที่ต่ำ
5. การพูด
คำพูดของเราต้องแสดงออกถึงความซื่อตรง สอดคล้องกับกริยาทางกาย เพราะถ้าหากคำพูดเราเกิดพร้อมกับกริยามุ่งมั่นจริงใจ พูดสิ่งใดก็ย่อมประสบผลเป็นที่น่าเชื่อถือ
6. การวางตัว
คนเราจะมีคนรักทั่วทิศ หากวางตัวได้ดังนี้
  • เวลาอยู่นอกบ้านแล้วพบผู้คน วางตัวราวกับคนผู้นั้นเป็นแขกสำคัญในบ้าน
  • เมื่อต้องสั่งการ วางตัวราวกับเราเป็นแม่งานของพิธีการที่สำคัญยิ่งใหญ่ (คนที่เป็นแม่งานจะต้องเห็นภาพงานทุกอย่าง ตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างรอบด้าน และมีจิตมุ่งมั่นต้องการทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ในระยะเวลาที่ตั้งใจเอาไว้ เพราะฉะนั้นเวลาคนเป็นแม่งานสั่งงาน จะไม่สักแต่ว่าขอให้ใครทำอะไร แต่จะคิดอย่างรอบคอบถึงผลที่ตามมา จะไม่สั่งการแบบขอไปที แต่จะต้องมีการติดตามผล แนะนำเพื่อให้งานลุล่วงไปได้)
  • อะไรที่เราไม่ชอบ ก็อย่าปฏิบัติต่อคนอื่น
  • เข้มงวดต่อตนเอง แต่ให้อภัยคนอื่น
7. การวางจิต
ขงจื๊อเน้นการมีจิตใจที่ซื่อตรง เขาเห็นว่า ประเทศชาติจะสงบสุขได้ครอบครัวต้องดีก่อน แต่ครอบครัวจะดีได้ มนุษย์แต่ละคนต้องมี คุณธรรมมนุษย์แต่ละคนจะมีคุณธรรม ก็ต้องมีจิตใจที่ซื่อตรงและจิตใจที่ซื่อตรง จะมีได้ก็ต้องมีเจตนาที่ซื่อตรงก่อน ขงจื๊อเน้นจิตที่สามารถมองอะไรชัดเจน ทะลุปรุโปร่ง จิตเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็จากการมองเห็นและรู้จักตนเองอย่างรอบด้านก่อน


Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Human_Penetrator.htm#ixzz25ZEqpGxX

การตัดสินใจ (Decision Making)



ความหมายของการตัดสินใจ
การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึงกระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม การตัดสินใจได้มีการศึกษามานาน
ความหมายของการตัดสินใจ นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
  • บาร์นาร์ด (Barnard, 1938) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า คือ "เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว"
  • ไซมอน (Simon) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจ เป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ การหาทางเลือกที่พอเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่าง ๆ ที่มีอยู่
  • มูดี (Moody) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจเป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อใดถึงจะตัดสินใจว่าควรหยุดหาข้อเท็จจริง แนวทางแก้ไขจะเปลี่ยนแปลงไปตามปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งการรวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวพันกับการใช้จ่ายและการใช้เวลา
  • กิบสันและอิวาน เซวิช (Gibson and Ivancevich) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า เป็นกระบวนการสำคัญขององค์การ ที่ผู้บริหารจะต้อง กระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่ง ได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และกลุ่มในองค์การ
  • โจนส์ (Jones) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจองค์การว่าเป็นกระบวนการ ที่จะแก้ไขปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก และเลือกทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้
จากคำนิยามข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า มีมุมมองของนักวิชาการที่แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่ประเด็นหลักที่มองเหมือนกันคือ
1.การตัดสินใจเป็นกระบวนการ (process) นั่นหมายความว่าการตัดสินใจต้องผ่านกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์แล้ว ค่อยตัดสินใจเลือก ทางที่ดีที่สุด มีหลายท่านคิดว่าการตัดสินใจไม่มีขั้นตอนอะไรมากคิดแล้วทำเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการคิดก็ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (search) การออกแบบ (design) และการเลือก (choice) เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกได้ดีที่สุด
2.การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (solution) การตัดสินใจเป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม (initiative) และคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)
3. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ จะเห็นว่าผู้บริหารในแต่ละระดับชั้นก็มีหน้าที่ในการตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้ ผู้บริหารระดับกลางจะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (management decision) เป็นการตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารระดับต้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ (Operational decision) เป็นการตัดสินใจดำเนินการควบคุมงานให้สำเร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน จะเห็นว่าการตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่มและทั้งองค์การ ซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึงจะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้
ดังนั้นกล่าวได้ว่า การตัดสินใจ คือ ผลสรุปหรือผลขั้นสุดท้ายของกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากร และบุคคล สามารถนำไปปฏิบัติและทำให้งานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
การตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตำแหน่งและอำนาจที่เป็นทางการ คือบทบาทการเป็นผู้ประกอบการ(Enterpreneur) บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา(Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยาการ(Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง(Negotiator)


Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Decision_Making.htm#ixzz25ZEWOf9Q

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทัศนคติ (Attitude)


ทัศนคติ เป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญมากแนวหนึ่งทาง จิตวิทยาสังคม และ การสื่อสาร และมีการใช้ คำนี้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับการนิยามคำว่า ทัศนคติ นั้น ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้

โรเจอร์ (Roger , 1978 : 208 – 209 อ้างถึงใน สุรพงษ์ โสธนะเสถียร , 2533 : 122) ได้กล่าวถึง ทัศนคติ ว่า เป็นดัชนีชี้ว่า บุคคลนั้น คิดและรู้สึกอย่างไร กับคนรอบข้าง วัตถุหรือสิ่งแวดล้อมตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ โดย ทัศนคติ นั้นมีรากฐานมาจาก ความเชื่อที่อาจส่งผลถึง พฤติกรรม ในอนาคตได้ ทัศนคติ จึงเป็นเพียง ความพร้อม ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า และเป็น มิติของ การประเมิน เพื่อแสดงว่า ชอบหรือไม่ชอบ ต่อประเด็นหนึ่ง ๆ ซึ่งถือเป็น การสื่อสารภายในบุคคล (Interpersonal Communication) ที่เป็นผลกระทบมาจาก การรับสาร อันจะมีผลต่อ พฤติกรรม ต่อไป

โรเสนเบิร์ก และฮอฟแลนด์ (Rosenberg and Hovland , 1960 : 1) ได้ให้ความหมายของ ทัศนคติ ไว้ว่า ทัศนคติ โดยปกติสามารถ นิยาม ว่า เป็นการจูงใจต่อแนวโน้มใน การตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจงกับสิ่งที่เกิดขึ้น

เคลเลอร์ (Howard H. Kendler , 1963 : 572) กล่าวว่า ทัศนคติ หมายถึง สภาวะความพร้อม ของบุคคล ที่จะ แสดงพฤติกรรม ออกมา ในทางสนับสนุน หรือ ต่อต้านบุคคล สถาบัน สถานการณ์ หรือ แนวความคิด

คาร์เตอร์ วี. กูด (Carter V. Good , 1959 : 48) ให้คำจำกัดไว้ว่า ทัศนคติ คือ ความพร้อม ที่จะ แสดงออก ในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ที่เป็น การสนับสนุน หรือ ต่อต้านสถานการณ์ บางอย่าง บุคคล หรือสิ่งใด ๆ

นิวคอมบ์ (Newcomb , 1854 : 128) ให้คำจำกัดความไว้ว่า ทัศนคติ ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะคนนั้น ขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม อาจ แสดงออก ในพฤติกรรม ซึ่งเป็นไปได้ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะชอบหรือพึงพอใจ ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิด ความรักใคร่ อยากใกล้ชิดสิ่งนั้น ๆ หรืออีก ลักษณะหนึ่ง แสดงออก ในรูปความไม่พอใจ เกลียดชัง ไม่อยากใกล้สิ่งนั้น

นอร์แมน แอล มุน (Norman L. Munn , 1971 : 71) กล่าวว่า ทัศนคติ คือ ความรู้สึก และ ความคิดเห็น ที่บุคคล มีต่อสิ่งของ บุคคล สถานการณ์ สถาบัน และข้อเสนอใด ๆ ในทางที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธ ซึ่งมีผลทำให้ บุคคลพร้อม ที่จะ แสดงปฏิกิริยา ตอบสนอง ด้วย พฤติกรรม อย่างเดียวกันตลอด

จี เมอร์ฟี , แอล เมอร์ฟี และ ที นิวคอมบ์ (G. Murphy , L. Murphy and T. Newcomb , 1973 : 887) ให้ความหมายของคำว่า ทัศนคติ หมายถึง ความชอบ หรือไม่ชอบ พึงใจ หรือไม่พึงใจที่บุคคลแสดงออกมาต่อสิ่งต่าง ๆ

เดโช สวนานนท์ (2512 : 28) กล่าวถึง ทัศนคติ ว่าเป็นบุคลิกภาพที่สร้างขึ้นได้ เปลี่ยนแปลงได้และเป็น แรงจูงใจ ที่กำหนด พฤติกรรม ของบุคคล ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

ศักดิ์ สุนทรเสณี (2531 : 2) กล่าวถึง ทัศนคติ ที่เชื่อมโยงไปถึง พฤติกรรมของบุคคล ว่า ทัศนคติ หมายถึง
1. ความสลับซับซ้อนของความรู้สึก หรือการมีอคติของบุคคล ในการที่จะ สร้างความพร้อม ที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามประสบการณ์ของบุคคลนั้น ที่ได้รับมา
2. ความโน้มเอียง ที่จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางที่ดีหรือ ต่อต้าน สิ่งแวดล้อม ที่จะมาถึงทางหนึ่งทางใด
3. ในด้าน พฤติกรรม หมายถึง การเตรียมตัว หรือความพร้อมที่จะตอบสนอง

จากคำจำกัดความต่าง ๆเหล่านี้ จะเห็นได้ว่ามีประเด็นร่วมที่สำคัญดังนี้คือ
1. ความรู้สึกภายใน
2. ความพร้อม หรือ แนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมในทางใดทางหนึ่ง

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทัศนคติ เป็นความสัมพันธ์ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความรู้สึก และความเชื่อ หรือการรู้ของบุคคล กับแนวโน้มที่จะมี พฤติกรรมโต้ตอบ ในทางใดทางหนึ่งต่อเป้าหมายของ ทัศนคติ นั้น
โดยสรุป ทัศนคติ ในงานที่นี้เป็นเรื่องขอ งจิตใจ ท่าที ความรู้สึกนึกคิด และความโน้มเอียงของบุคคล ที่มีต่อข้อมูลข่าวสาร และการเปิดรับ รายการกรองสถานการณ์ ที่ได้รับมา ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ทัศนคติ มีผลให้มีการแสดง พฤติกรรม ออกมา จะเห็นได้ว่า ทัศนคติ ประกอบด้วย ความคิดที่มีผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกนั้น ออกมาโดยทางพฤติกรรม

Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Attitude.htm#ixzz25TcBX8Hj

ทฤษฎีการเรียนรู้



1 ทฤษฎีการเรียนรู้จาก การเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ
2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน
3 ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น
4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
5 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
  • ส่วนแรกพูดถึง ความสามารถในการจำระยะสั้นของสมอง ซึ่งมีขีดจำกัด สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) ได้ประมาณ 7 ข้อมูล หรือ 5-9 คือ 7 บวกลบ 2 ข้อมูลก้อนนี้เป็นข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือคำพูด หรือตำแหน่งของตัวหมากรุก หรือใบหน้าคน เป็นต้น
  • ส่วนที่ 2 พูดถึง TOTE มาจาก Test-Operate-Test-Exit ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย มิลเลอร์ (Miller) และคณะ กล่าวว่า ต้องมีการประเมินว่า ได้มีการกระทำที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหาก บอกว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็จะต้องมีการกระทำ หรือปฏิบัติการใหม่เพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
6 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน
ชอว์ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ในรูปแบบของพัฒนาการ ของ สังคมและจิตวิทยา ว่าเป็นแนวคิด หรือ ความเข้าใจ ที่เป็น คอนสตรัคทิวิซึ่ม (Constructivism) คือ รูปแบบที่ผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ ไม่ใช่เป็น ผู้รับอย่างเดียว ดังนั้นผู้เรียน ก็คือ ผู้สอนนั่นเอง แต่ใน ระบบการศึกษาทุกวันนี้ รูปแบบโครงสร้าง จะตรงกันข้ามกับ ความคิดดังกล่าว โดยครูเป็น ผู้หยิบยื่นความรู้ให้ แล้วกำหนดให้ นักเรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น
อย่างไรก็ตาม คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีแตกต่างจาก คอน-สตรัคทิวิซึ่ม ตรงที่ ทฤษฎีคอนสตรัคทิวิซึ่ม คือ ทฤษฎีที่กล่าวว่า ความรู้เกิดขึ้น สร้างขึ้นโดยผู้เรียน ไม่ใช่เป็นการให้จากผู้สอนหรือครู ในขณะที่ คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีความหมาย กว้างกว่านี้ คือ พัฒนาการของเด็ก ในการเรียนรู้ มีมากกว่า การกระทำ หรือ กิจกรรม เท่านั้น แต่รวมถึง ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ภายนอก หมายความว่า เด็กสามารถเก็บข้อมูล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเก็บเข้าไป สร้าง เป็นโครงสร้าง ของความรู้ภายใน สมองของตัวเอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถเอา ความรู้ภายใน ที่เด็กมีอยู่แล้ว แสดงออกมา ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม ภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็น วงจรต่อไป เรื่อย ๆ คือ เด็กจะเรียนรู้เองจาก ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ กลับเข้าไปในสมอง ผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
ดังนั้น ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จึงให้ความสำคัญ กับโอกาสและ วัสดุที่จะใช้ใน การเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไป
สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็ก เองได้ ไม่ใช่ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติ ของกระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้าง กระบวนการ เรียนรู้ นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติของเด็ก แต่ละคน ครูควรคิดค้น พัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียน อย่างไรจึงจะให้ ผู้เรียนสามารถ สร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนา และสร้าง วัสดุอุปกรณ์ ประกอบการเรียน การสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่ จะใช้อุปกรณ์การเรียน การสอน ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ด้วย วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียน สร้างโครงสร้างของ ความรู้ขึ้นเอง
ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) และ ศาสตราจารย์ มิทเชล เรสนิก (Mitchel Resnick) มีความเห็นว่า ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน
สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย การสร้างความรู้ใหม่ ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูล ที่หลั่งไหลเข้ามา ในสมองของผู้เรียน เท่านั้น โดยความรู้ จะเกิดขึ้นจาก การแปลความหมาย ของประสบการณ์ที่ได้รับ
สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้น มีความหมายกับ ผู้เรียนคนนั้นมุ่งการสอน การป้อนความรู้ให้ คิดค้นแต่วิธีที่จะสอนอย่างไรจึงจะได้ผล ซึ่งไม่ใช่ วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจ ธรรมชาติ ของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้างกระบวนการ เรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่า จะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้
ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์ การเรียนการสอน ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีการเรียนแบบใหม่ คือการสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้าง ของความรู้ขึ้นเอง
มีความหมายกับผู้เรียนคนนั้นทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม บอกว่า การจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่า เรามีความเชื่อว่า ความรู้เกิดขึ้น ได้อย่างไร ถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้างความรู้ขึ้นเอง การให้การศึกษาก็จะต้อง ประกอบด้วย การดึงเอา ความรู้นี้ ออกมาจากเด็ก ด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือตอบคำถาม ที่จะใช้ความรู้นั้น และให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วม ในกิจกรรม ที่จะทำให้ เกิดกระบวนการสร้างความรู้ ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก การให้การศึกษา ก็จะต้อง ประกอบด้วย การให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็ก แสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้อง ให้กับเด็ก วิธีนี้คือ การศึกษาในสมัยก่อนนั่นเอง


Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning.htm#ixzz25Tbl57Hs

ทัศนคติ (Attitude)


ทัศนคติ เป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญมากแนวหนึ่งทาง จิตวิทยาสังคม และ การสื่อสาร และมีการใช้ คำนี้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับการนิยามคำว่า ทัศนคติ นั้น ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้


โรเจอร์ (Roger , 1978 : 208 – 209 อ้างถึงใน สุรพงษ์ โสธนะเสถียร , 2533 : 122) ได้กล่าวถึง ทัศนคติ ว่า เป็นดัชนีชี้ว่า บุคคลนั้น คิดและรู้สึกอย่างไร กับคนรอบข้าง วัตถุหรือสิ่งแวดล้อมตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ โดย ทัศนคติ นั้นมีรากฐานมาจาก ความเชื่อที่อาจส่งผลถึง พฤติกรรม ในอนาคตได้ ทัศนคติ จึงเป็นเพียง ความพร้อม ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า และเป็น มิติของ การประเมิน เพื่อแสดงว่า ชอบหรือไม่ชอบ ต่อประเด็นหนึ่ง ๆ ซึ่งถือเป็น การสื่อสารภายในบุคคล (Interpersonal Communication) ที่เป็นผลกระทบมาจาก การรับสาร อันจะมีผลต่อ พฤติกรรม ต่อไป

โรเสนเบิร์ก และฮอฟแลนด์ (Rosenberg and Hovland , 1960 : 1) ได้ให้ความหมายของ ทัศนคติ ไว้ว่า ทัศนคติ โดยปกติสามารถ นิยาม ว่า เป็นการจูงใจต่อแนวโน้มใน การตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจงกับสิ่งที่เกิดขึ้น

เคลเลอร์ (Howard H. Kendler , 1963 : 572) กล่าวว่า ทัศนคติ หมายถึง สภาวะความพร้อม ของบุคคล ที่จะ แสดงพฤติกรรม ออกมา ในทางสนับสนุน หรือ ต่อต้านบุคคล สถาบัน สถานการณ์ หรือ แนวความคิด

คาร์เตอร์ วี. กูด (Carter V. Good , 1959 : 48) ให้คำจำกัดไว้ว่า ทัศนคติ คือ ความพร้อม ที่จะ แสดงออก ในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ที่เป็น การสนับสนุน หรือ ต่อต้านสถานการณ์ บางอย่าง บุคคล หรือสิ่งใด ๆ

นิวคอมบ์ (Newcomb , 1854 : 128) ให้คำจำกัดความไว้ว่า ทัศนคติ ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะคนนั้น ขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม อาจ แสดงออก ในพฤติกรรม ซึ่งเป็นไปได้ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะชอบหรือพึงพอใจ ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิด ความรักใคร่ อยากใกล้ชิดสิ่งนั้น ๆ หรืออีก ลักษณะหนึ่ง แสดงออก ในรูปความไม่พอใจ เกลียดชัง ไม่อยากใกล้สิ่งนั้น

นอร์แมน แอล มุน (Norman L. Munn , 1971 : 71) กล่าวว่า ทัศนคติ คือ ความรู้สึก และ ความคิดเห็น ที่บุคคล มีต่อสิ่งของ บุคคล สถานการณ์ สถาบัน และข้อเสนอใด ๆ ในทางที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธ ซึ่งมีผลทำให้ บุคคลพร้อม ที่จะ แสดงปฏิกิริยา ตอบสนอง ด้วย พฤติกรรม อย่างเดียวกันตลอด

จี เมอร์ฟี , แอล เมอร์ฟี และ ที นิวคอมบ์ (G. Murphy , L. Murphy and T. Newcomb , 1973 : 887) ให้ความหมายของคำว่า ทัศนคติ หมายถึง ความชอบ หรือไม่ชอบ พึงใจ หรือไม่พึงใจที่บุคคลแสดงออกมาต่อสิ่งต่าง ๆ

เดโช สวนานนท์ (2512 : 28) กล่าวถึง ทัศนคติ ว่าเป็นบุคลิกภาพที่สร้างขึ้นได้ เปลี่ยนแปลงได้และเป็น แรงจูงใจ ที่กำหนด พฤติกรรม ของบุคคล ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

ศักดิ์ สุนทรเสณี (2531 : 2) กล่าวถึง ทัศนคติ ที่เชื่อมโยงไปถึง พฤติกรรมของบุคคล ว่า ทัศนคติ หมายถึง
1. ความสลับซับซ้อนของความรู้สึก หรือการมีอคติของบุคคล ในการที่จะ สร้างความพร้อม ที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามประสบการณ์ของบุคคลนั้น ที่ได้รับมา
2. ความโน้มเอียง ที่จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางที่ดีหรือ ต่อต้าน สิ่งแวดล้อม ที่จะมาถึงทางหนึ่งทางใด
3. ในด้าน พฤติกรรม หมายถึง การเตรียมตัว หรือความพร้อมที่จะตอบสนอง

จากคำจำกัดความต่าง ๆเหล่านี้ จะเห็นได้ว่ามีประเด็นร่วมที่สำคัญดังนี้คือ
1. ความรู้สึกภายใน
2. ความพร้อม หรือ แนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมในทางใดทางหนึ่ง

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทัศนคติ เป็นความสัมพันธ์ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความรู้สึก และความเชื่อ หรือการรู้ของบุคคล กับแนวโน้มที่จะมี พฤติกรรมโต้ตอบ ในทางใดทางหนึ่งต่อเป้าหมายของ ทัศนคติ นั้น
โดยสรุป ทัศนคติ ในงานที่นี้เป็นเรื่องขอ งจิตใจ ท่าที ความรู้สึกนึกคิด และความโน้มเอียงของบุคคล ที่มีต่อข้อมูลข่าวสาร และการเปิดรับ รายการกรองสถานการณ์ ที่ได้รับมา ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ทัศนคติ มีผลให้มีการแสดง พฤติกรรม ออกมา จะเห็นได้ว่า ทัศนคติ ประกอบด้วย ความคิดที่มีผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกนั้น ออกมาโดยทางพฤติกรรม

Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Attitude.htm#ixzz25TZWWfZa